ผลิตภัณฑ์ของเรา

 

ถังเก็บน้ำประปา น้ำดิบ และน้ำดื่ม เหมาะสำหรับใช้เป็น Mobile Plantเพื่อติดตั้งระบบเก็บสำรองน้ำในพื้นที่ชั่วคราว หรือใช้ในกรณีสำรองน้ำ ฉุกเฉิน

images

images

 

   ถังเก็บน้ำดับเพลิง (Fire Water Tank)


 

ถังเก็บน้ำใช้ในอุตสาหกรรม เช่น น้ำป้อนหม้อไอน้ำ น้ำหล่อเย็น

images

images

  

ถังหมักก๊าซชีวภาพ (เทคโนโลยี CSTR, AF, UASB, etc.)

ระบบเก็บสำรองก๊าซชีวภาพ (Biogas Holder/ Biogas Storage)


 

ระบบเก็บสำรองก๊าซชีวภาพ (Biogas Holder/ Biogas Storage)

images

images

 

 

ถังหมักก๊าซชีวภาพ (เทคโนโลยี CSTR, AF, UASB, etc.)

ระบบเก็บสำรองก๊าซชีวภาพ (Biogas Holder/ Biogas Storage)


 

Tank and Roof

Double Membrane Roof

images
 

 Double Membrane Gas Holder  ผ้าใบเก็บสำรองก๊าซชีวภาพแบบสองชั้น


 

ข้อดีของระบบ Double membrane gas holder

  • ค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษาต่ำ
  • มีความปลอดภัยในการทำงานสูง
  • สามารถรักษาความดันก๊าซชีวภาพได้สม่ำเสมอโดยรักษาความดันใช้งานก๊าซชีวภาพได้ในช่วง 6-15 mbar(g)
  • ควบคุมการส่งจ่ายก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพ
 

วัสดุผ้าใบทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์และเคลือบทับด้วยวัสดุ PVC หรือ PVDF จึงมีความแข็งแรงทนทานและยืดหยุ่นมากกว่าผ้าใบ PVC และ HDPE สามารถทนแรงดึงและแรงฉีกขาดได้สูง วัสดุผ้าใบชั้นนอก (Outer Membrane) จะมีการเคลือบสารป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลท (UV) และสารเคลือบป้องกันการเกิดตะไคร่ เพื่อยืดอายุการใช้งานและให้ผ้าใบทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ ส่วนผ้าใบชั้นใน (Inner Membrane) จะมีสารเคลือบป้องกันการกัดกร่อนจากก๊าซชีวภาพ ความชื้น รวมถึงก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ที่มีความเข้มข้นสูงถึง 20,000 ppm


ช่องว่างระหว่างผ้าใบชั้นนอกและชั้นใน จะถูกเติมด้วยอากาศที่เป่าสร้างความดันด้วยพัดลม (Air Blower) เพื่อรักษารูปทรงผ้าใบชั้นนอกให้โป่งตึงตลอดเวลา ป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังผ้าใบ และทำให้ Gas Holder สามารถทนการปะทะของแรงลมได้สูง โดยไม่ทำให้ผ้าใบสะบัดและฉีกขาด


 

ข้อดีของระบบ Double membrane gas holder

  • ใช้เป็นหน่วยพักสำรอง Biogas (Gas Holder) รักษาเสถียรภาพการผลิตและใช้ประโยชน์ biogas (1-6 hours) สำหรับระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่ไม่มีชุดเก็บสำรองก๊าซ เช่น UASB, IC Reactor
  • ใช้เป็นหน่วยพักสำรอง Biogas อย่างปลอดภัยควบคู่กับการใช้งานบ่อหมักแบบ Covered Lagoon เพื่อควบคุมความดันก๊าซขีวภาพในบ่อ Covered Lagoon ให้ต่ำที่สุดและรักษาความสูงผ้าใบคลุมบ่อไม่ให้สูง ลดความเสี่ยงการฉีกขาดจากแรงลม
  • ใช้เก็บสำรอง Biogas สำหรับใช้ในช่วง Peak Period (8-12 hours)
  • ใช้เป็นวัสดุทดแทนผ้าใบเก็บก๊าซแบบเมมเบรนเดี่ยว เช่น PVC, HDPE ซึ่งจะมีความแข็งแรงของวัสดุที่ทนทานมากกว่า 5 เท่า รองรับแรงลมได้มากกว่า 120 km/h และลดปัญหาการท่วมขังสะสมน้ำฝนบนผ้าใบ

  Landia Gas Mixing System and Chopper Pump 

ระบบแก๊สกวนผสม (Gas Mixing System)


ระบบแก๊สกวนผสม (Gas Mixing System) คือ ระบบการทำงานโดยใช้แก๊สมาเป็นส่วนช่วยในการกวนผสมโดยใช้ปั๊มแบบใบมีดตัดตะกอนของ Landia (Chopper Pump) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของระบบนี้ โดยจะติดตั้งอยู่นอกถังหมักก๊าซชีวภาพ

ปั๊มแบบใบมีดตัด (Chopper Pump) จะทำการดูดสารแขวนลอยหรือตะกอนที่ลอยอยู่มายังปั๊มเพื่อบดย่อยของแข็งและตะกอนให้มีขนาดเล็กลงด้วยใบมีด จากนั้นจะถูกส่งขึ้นไปตามท่อผสมกับแก๊สชีวภาพที่ถูกดูดจากด้านบนของถังหมักและฉีดกลับเข้าไปในถังด้วยแรงดันของไหลที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนและเกิดการกวนผสมอย่างทั่วถึงภายในถัง

การติดตั้งหัวฉีด วาล์ว และปั๊มจะต้องออกแบบ ติดตั้ง ตามความเหมาะสมของการออกแบบสภาวะการหมักและขนาดของถังหมักก๊าซชีวภาพเพื่อให้เกิดการกวนผสมของของเหลวทั่วทั้งถัง หลีกเลี่ยงสภาวะที่ของเหลวตกตะกอน และจับตัวกันแน่นของตะกอนลอยผิวน้ำ (Floating Scum) เพราะจะทำให้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพเสียหาย ไม่สามารถเกิดแก๊สได้ตามที่ต้องการ


ปั๊มแบบใบมีดตัด (Chopper Pump)

มีหน้าที่สร้างแรงดูดและย่อยขนาดของแข็งและตะกอน ปั๊มมีลักษณะแบบใบพัดเปิด (Open Impeller) ตัวปั๊มประกอบด้วยใบมีดตัดที่เป็นแบบยึดกับที่ (Fixed Knife) และใบมีดหมุด (Rotating Knife) ใบมีดทั้งสองจะทำงานประสานบดย่อยให้อนุภาคของแข็งและตะกอนมีขนาดเล็กลงและส่งผลให้ความหนืดของของเหลวลดลง ดังนั้นปัญหาในเรื่องการอุดตันของตะกอนจึงหมดไป นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในถังปฏิกรณ์ให้ผลิตก๊าซชีวภาพได้มากขึ้น
ความพิเศษของปั๊มแบบใบมีดตัด (Chopper Pump) คือ สามารถเลือกวัสดุของใบพัด ใบมีด ตัวเรือน และอื่น ๆ เพื่อความเหมาะสมกับประเภทและคุณสมบัติของของเหลว การเลือกวัสดุที่เหมาะสมต่อการใช้งานทำให้ปั๊มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีการซ่อมบำรุงน้อยที่สุด

ตัวอย่างการใช้งาน

Chopper Pump
Gas Mixing Sys
 

 

  

  • ใช้เป็นระบบ Gasmix เพื่อกวนผสมน้ำ เสียและตะกอนจุลินทรีย์ในระบบหมักก๊าซชีวภาพแบบ CSTR
  • ใช้เป็นหน่วยสูบส่งน้ำ เสียและตะกอนในบ่อ (Sump Pump)ในงานสูบส่งน้ำ เสียที่มีสัดส่วน % ของแข็งสูง น้ำ เสียมีการปะปนของกากเส้นใย (Pulp) เช่นน้ำ เสียกากมันสำ ปะหลังหรือต้องการการตัดย่อยเศษวัสดุในน้ำ เสีย หรือต้องการลดปัญหาการสะสมของ Scum หรือไขมันในบ่อน้ำ เสีย
  • ใช้เป็นระบบ AirJet System เพื่อเติมอากาศในระบบบำ บัดน้ำ เสีย

 Inspection Window (หน้าต่างสำหรับการตรวจสอบ)

ข้อมูลทางเทคนิค
1.ผลิตภัณฑ์มาพร้อมกับตัวจับยึด (Mouhting) และระบบ Seal ป้องกันการรั่วซึม
2.มีใบปัดน้ำฝนสามารถเช็ดทำความสะอาดคราบไอน้ำได้ครอบคลุมพื้นที่ส่อง
3.มีหัวฉีดน้ำพร้อมท่อสแตนเลส 316 สำหรับฉีดล้างทำความสะอาดกระจกด้านใน พร้อมชุดวาล์วน้ำ
4.ทนอุณหภูมิได้ถึง 80°C
5.กระจกทนแรงดันได้สูงถึง 1 บาร์

 


 Over/under-pressure device (อุปกรณ์ควบคุมแรงดัน)

เราออกแบบขนาดอุปกรณ์ไว้ 3 รุ่น ขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของก๊าซชีวภาพหรือการระบายแรงดัน ดังนี้:
1. รุ่น UU TT 150 สำหรับก๊าซที่มีอัตราการไหลสูงสุด 150 ลบ.ม./ชม. ที่แรงดัน 3 mbar
2. รุ่น UU TT 200 สำหรับก๊าซที่มีอัตราการไหลสูงสุด 220 m3/h ที่แรงดัน 3 mbar
3. รุ่น UU TT 273 และ OP TT 300 สำหรับก๊าซที่มีอัตราการไหลสูงสุด 600 m3/h ที่แรงดัน 3 mbar

 

เครื่องเติมอากาศ FUCHS (FUCHS Jet Aerator)FUCHS OXYSTAR Aerator

 เครื่องเติมอากาศสำหรับบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำเสียชุมชน 

 เครื่องเติมอากาศเหมาะสำหรับ activated sludge basins, aerated lagoons and equalization basins 

 สามารถเติมอากาศและเพิ่มการกวนผสมในบ่อบำบัดน้ำเสีย 

 การติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบยึดติดกับที่ (Fix mounted) และแบบลอยน้ำ (Float Mounted) 

 สามารถติดตั้งทดแทนอุปกรณ์เติมอากาศเดิมได้ทันที 

 การออกแบบและวัสดุที่เลือกใช้มีคุณภาพที่ดี

 ออกแบบให้ไม่มีชุดซีลกันรั่ว (seal) และชุดลูกปืน (Bearing) แช่อยู่ในน้ำ

 ชิ้นส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำทั้งหมดทำจากสแตนเลสและ FRP 

 การบำรุงรักษาต่ำและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

 ระดับเสียงรบกวนต่ำ

 สามารถใช้ได้กับมอเตอร์ IEC ทุกขนาด

 ผ่านการใช้งานมากกว่า 4000 ระบบทั่วโลก ประสบการณ์มากกว่า 40 ปี  

Operate Fuchs only 1 IC2 at North East Rubber

EIE TH 2008 04 24

 CXS

 HCIE 1 EQ 2xOS15 0 TEST RUN 11 12am 6 FEB 2014

 OXYSTAR at WWTP in Turkey

 


 
 
       
 
 
 
 
 


25 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 132 ครั้ง